วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ส่วนที่ 3
เรื่อง  DNA และ RNA

       กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก ( deoxyribonucleic acid : DNA ) หรือ ดีเอ็นเอ เป็นพอลินิวคลิโอไทด์ที่น้ำตาลเป็นดีออกซีไรโบส ส่วนเบส คือ  อะดินีน ( A ) กวานีน( G ) ไซโตซีน( C ) ไทมีน( T ) และยูราซีน( U ) 



          DNA มีหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมจากเซลล์พ่อแม่   ไปยังเซลล์ลูกพบอยู่บนโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์พืซและเซลล์สัตว์



                                                                                                    ที่มา :http://www.vcharkarn.com/lesson/view.php?id=1307


กรดไรโบนิวคลิอิก ( ribonucleic acid : RNA ) หรือ อาร์เอ็นเอ  เป็นพอลินิวคลิโอไทด์เหมือน DNA แต่มีส่วนต่างกันดังนี้



1) น้ำตาลเป็นน้ำตาลไรโบส
2) เบสที่พบได้แก่ คือ อะดินีน ( A ) กวานีน( G ) ไซโตซีน( C )
    และยูราซีน( U ) แต่ไม่พบไทมีน( T )
 3) โครงสร้าง RNA เป็นสายพอลินิวคลิโอไทด์ที่เป็นสายเดี่ยว
          

           RNA พบในไซโตรพลาสซึมและบนโครโมโซมในนิวเคลียส
มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์และควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน
ไปทำหน้าที่ต่าง ๆ 



  ที่มา :http://dna-rna.net/

แบบทดสอบ
1. การเปลี่ยนแปลงในยีนในระดับโมเลกุลเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับส่วนใดของโมเลกุล DNA
2.ในกระบวนการ DNA replication สายของ DNA ทั้งสองจะแยกกันตรงพันธะใด
  3.สารที่เป็นส่วนประกอบของ DNA ที่ไม่มี RNA คือข้อใด




ส่วนที่ 2
เรื่อง   การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม

         สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีเพศที่แตกต่างกัน คือ เพศผู้และเพศเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะพัฒนามาจากเซลล์ที่เกิดจากเซลล์พิเศษ  ของเพศผู้ คือ สเปิร์มหรืออสุจิกับเซลล์ไข่องเพศเมีย มารวมตัวกันเป็นไซโกตด้วยกระบวนการสืบพันธุ์ ยีนจากพ่อและแม่น่าจะมี การส่งถ่ายลักษณะต่างของพ่อและเม่สู่ลูกด้วยกระบวนการสืบพันธุ์    นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 นับตั้งแต่มีการสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์เห็นการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ของกบและหอยเม่น        การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) ภายหลังการแบ่งเซลล์ เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจะมีจำนวนโครโมโซม   เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้น (haploid cell)
         การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) ภายหลังการแบ่งเซลล์ เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจะมีจำนวนโครโมโซม
เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้น (haploid cell)


                  พ.ศ. 2445 วอลเตอร์ ซัตตัน (Walter Sutton) เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เสนอทฤษฎีโครโมโซมในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (chromosome theory of inheritance) โดยเสนอว่า สิ่งที่เรียกว่าแฟกเตอร์ของเมนเดลซึ่งต่อมาเรียกว่า ยีน น่าจะอยู่บนโครโมโซม เพราะมีความสอดคล้องกันในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้

ที่มา:



1. ยีนมี 2 ชุด โครโมโซมก็มี 2 ชุด
2. ยีนและโครโมโซมถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน
3. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โครโมโซมมีการเข้าคู่กันและแยกจากกันไปยังเซลล์ลูกที่เกิดขึ้นคนละเซลล์ยีนเองก็มีการแยกตัวของแอลลีลเช่นกัน


         4. การแยกตัวของโครโมโซมที่เป็นคู่กันไปยังขั้วเซลล์ขณะที่มีการแบ่งเซลล์ ดำเนินไปอย่างอิสระเช่นเดียวกับกันแยกตัวของแอลลีลไปยังเซลล์สืบพันธุ์

         5. ขณะเกิดการสืบพันธุ์ การรวมตัวกันของเซลล์ไข่และสเปิร์มเกิดเป็นไซโกตเป็นไปอย่างสุ่ม ทำให้การรวมตัวกันระหว่างชุดโครโมโซมจากเซลล์ไข่และสเปิร์มเป็นไปอย่างสุ่มด้วย ซึ่งเหมือนกับการกลับมารวมกันของแอลลีล ในเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่
         6. ทุกเซลล์ที่พัฒนามาจากไซโกตจะมีโครโมโซมครึ่งหนึ่งจากแม่และอีกครึ่งหนึ่งจากพ่อ ลูกที่เกิดมาจึงมีลักษณะ แปรผันไปจากพ่อและแม่

 แบบทดสอบ
1.การแบ่งเซลล์แบบใดเป็นการแบ่งที่เซลล์เพศ

2.การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสมีกี่ระยะ

3.เด็กหลอดแก้วคือการผสมแบบใด



วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่วนที่ 1
การศึกษาทางพันธุศาสตร์ของเมนเดล

        Gregor Mendeได้เสนอผลงานของเขาในปีค.ศ.1865 ซึ่งเป็นผลงานที่ได้จากการวิเคราะห์ผล การผสมพันธุ์ต้นถั่วลันเตา Pisum Savitumในเชิงคณิตศาสตร์กฎของเมนเดลยังใช้ประโยชน์ได้ดีในปัจจุบัน และก่อให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาการด้านพันธุศาสตร์จึงนับว่า "เมนเดล" คือ "บิดาแห่งพันธุศาสตร์"
กฎของเมนเดลข้อที่ 1
       เมื่อมีการสร้าง Gamete จำนวน Gene ลดลงครึ่งหนึ่งและเมื่อเกิดผสมพันธุ์มีการรวมตัวของ Gene โดย Gene เด่น จะข่ม Gene ด้อยและให้รุ่น F1 ผสมกันเอง ลักษณะที่หายไปในรุ่น F1จะแสดงออกมาในรุ่น F2 จะได้เมล็ดสีเหลือง : เมล็ดสีเขียว 3:1



                                              ที่มา : http://www.tigta.in.th/A5-Gregor-Mendel.html


กฎข้อที่ 2ของเมนเดล
     กฎ การรวมกลุ่ม Gene อย่างอิสระในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของ Gene อยู่ต่าง Locus กันเป็นไปอย่างอิสระทำให้เราสามารถทำนายอัตราส่วนของเซลล์ที่มีกลุ่ม Gene ต่างๆได้ใช้ลักษณะ 2 ลักษณะในการศึกษา

1. ลักษณะเมล็ด (เมล็ดเรียบและเมล็ดย่น)

2. สีของเมล็ด (เมล็ดสีเหลืองและสีเขียว)นำเมล็ดเรียบสีเหลือง ผสมกับเมล็ดย่นสีเขียว

P = เมล็ดเรียบสีเหลือง
X = เมล็ดย่นสีเขียว
F1= เมล็ดเรียบสีเหลือง (ให้ผสมกันเอง)
F2เมล็ดเรียบสีเหลือง = 9R_Y_
เมล็ดเรียบสีเขียว = 3R_yy
เมล็ดย่นสีเหลือง = 3rrY_
เมล็ดย่นสีเขียว = 1rryy

เมื่อ

GeneR= เมล็ดเรียบ
r = เมล็ดย่น
Y = เมล็ดสีเหลือง
y = เมล็ดสีเขียว
เขียนโดยใช้ Gene ที่แสดง Genotype ลัก
ษณะที่มาผสมกัน
เมล็ดเรียบสีเหลือง = RRYY
เมล็ดย่นสีเหลือง = rryy
                                                                     ที่มา : http://www.tigta.in.th/A5-Gregor-Mendel.html


แบบทดสอบ
1. ถั่วลันเตาลักษณะเมล็ดสีเหลือง เป็นลักษณะเด่นต่อลักษณะเมล็ดสีเขียว ในการผสมตัวเองของต้นที่มีลักษณะเมล็ดสีเหลืองที่เป็นเฮเทอโรไซกัสทั้งคู่ จงหาร้อยละของลูกที่ให้เมล็ดสีเขียว กำหนดให้ Y แทนยีนควบคุมเมล็ดสีเหลือง และ y แทนยีนควบคุมเมล็ดสีเขียว

2.ในแมลงหวี่ กำหนดให้ L เป็นยีนควบคุมลักษณะปีกยาวและ l เป็นยีนควบคุมลักษณะปีกสั้น เมื่อผสมแมลงหวี่ปีกยาวและปีกสั้นจะได้ลูกที่มีปีกยาวและลูกที่มีปีกสั้น ในอัตราส่วน 1 : 1 จงหาจีโนไทป์ของพ่อแม่และลูก
3. ถ้า N แทนยีนที่ควบคุมลักษณะปีกปกติของแมลงหวี่ และ n แทนยีนควบคุมลักษณะปีกสั้นในการผสมพันธุ์แมลงหวี่ที่มีปีกปกติคู่หนึ่ง ปรากฎว่ารุ่นลูกจำนวน 123 ตัว มีปีกปกติ 88ตัว และมีปีกสั้น 35 ตัว
-
จงเขียนจีโนไทป์ของแมลงหวี่ในรุ่นพ่อแม่